ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียน “ฟิล์มกระจก 35,427 รายการ-ภาพต้นฉบับ 5 หมื่นภาพ” ของรัชกาลที่ 5 และ 6 เป็น “มรดกความทรงจำแห่งโลก” ปี 60

ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียน “ฟิล์มกระจก 35,427 รายการ-ภาพต้นฉบับ 5 หมื่นภาพ” ของรัชกาลที่ 5 และ 6 เป็น “มรดกความทรงจำแห่งโลก” ปี 60 นับเป็นชิ้นที่ 5 ของไทยต่อจากศิลาจารึกพ่อขุนราม เอกสารเปลี่ยนแปลงสยามสมัยร. 5 จารึกวัดโพธิ์ และบันทึกประชุมสยามสมาคม เผยฟิล์มกระจกและภาพต้นฉบับเป็นจดหมายเหตุบันทึกประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยร. 4

นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยว่า ได้รับรายงานว่า องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้ประกาศรับรองการขึ้นทะเบียนฟิล์มกระจก 35,427 รายการและภาพต้นฉบับ 50,000 ภาพเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก ประจำปี 2560 อย่างเป็นทางการในเว็บไซต์ unesco.org ซึ่งฟิล์มกระจกและภาพต้นฉบับดังกล่าวได้มีการส่งมอบและเก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมมาอย่างยาวนาน

    นายวีระ กล่าวว่า สำหรับการประกาศขึ้นทะเบียนฟิล์มกระจกและภาพต้นฉบับ นั้น เสนอโดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก ประเทศไทย และได้รับการบรรจุในทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลกในปี 2560 ประกอบด้วยภาพฟิล์มกระจก 35,427 รายการและภาพต้นฉบับ 50,000 รายการ โดยเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องและยาวนานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งรวบรวมจากฟิล์มกระจกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงถ่ายไว้ เอกสารดังกล่าวสะท้อนถึงหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ทางด้านสังคม วัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางเมืองและความสัมพันธ์ด้านต่างประเทศของสยาม โดยแสดงถึงบุคคล สถานที่ และเหตุการณ์ที่มีความสำคัญระดับประเทศและนานาชาติในยุคที่อาณานิคมตะวันตกแพร่ขยายมายังเอเชียซึ่งทำให้สยามเลือกที่จะรักษาเอกลักษณ์ของชาติและปฏิรูปประเทศในทุกด้าน ซึ่งนำไปสู่ยุคของการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติได้เก็บรักษาเอกสารดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2520 ปัจจุบันนี้ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ได้ดำเนินการสแกนจัดเก็บเอกสารดังกล่าวในรูปแบบดิจิทอลไฟล์เพื่อนุรักษ์ต้นฉบับและให้บริการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ

    นายวีระ กล่าวว่า สำหรับมรดกความทรงจำโลกนี้ ประเทศเจ้าของมรดกต้องเขียนรายละเอียดตามแบบฟอร์มของยูเนสโกที่ระบุความสำคัญในแง่ของเหตุการณ์บุคคล สถานที่และช่วงเวลา และระบุความเป็นของแท้จริงที่อนุรักษ์ไว้อย่างดีเพื่อเปิดให้ผู้สนใจเข้าศึกษาวิจัยได้ พร้อมภาพถ่ายหรือเทป แต่ละปีมีประเทศเสนอเข้าไปมาก ต้องมีคณะกรรมการกลั่นกรองตรวจสอบและเสนอความเห็นว่าควรขึ้นทะเบียนมรดกระดับนานาชาติหรือไม่ โดยในปี2017 ประเทศเพื่อนบ้านที่ได้ขึ้นทะเบียนหลายราย อาทิ 1.จารึกบนกระดูกที่ใช้เสี่ยงทายของจีนโบราณ 2.หอจดหมายเหตุหลักฐานการอนุรักษ์มรดกโลกโบโรพุทโธ อินโดนีเซีย 3.จารึกบนระฆังของพระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่า 4.ฟิล์มกระจกที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่บันทึกภาพอ่าวท่าเรือซิดนีย์ 5.เอกสารเรื่องปันหยีของชวาที่ได้ส่งอิทธิพลต่อวรรณคดีในหลายประเทศ 6.เอกสารเกี่ยวกับชนดั้งเดิมในหลายประเทศที่เสนอต่อสหประชาชาติเก็บรักษาไว้ที่สวิสเซอร์แลนด์ 7. เอกสารจดหมายเหตุที่เขียนด้วยลายมือเกี่ยวกับเชคสเปียร์เสนอโดยอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

    อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาประเทศไทยได้ขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลกมาแล้ว 4 รายการ การประกาศขึ้นทะเบียนฟิล์มกระจกและภาพต้นฉบับครั้งนี้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์รายการที่ 5 ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโกเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก

    นายวีระ กล่าวต่อว่า ได้รับรายงานว่าจากข้อมูลของสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ พบว่า เมื่อปี 2535 องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้ก่อตั้งแผนงานมรดกความทรงจำแห่งโลกขึ้น (The Memory of the World Programme of UNESCO) เพื่อให้ทั่วโลกได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์มรดกเอกสาร และเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาของโลกที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หรือสื่อผสม เช่น หนังสือตัวเขียน สิ่งพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ ซึ่งเก็บอยู่ ณ ห้องสมุด และหอจดหมายเหตุทั่วโลก ซึ่งถือเป็นแหล่งรวบรวมความคิด และประสบการณ์ที่สะท้อนให้เห็นความหลากหลายของความคิดริเริ่ม และวัฒนธรรมของชนชาติต่างๆ ทั่วโลก

    ทั้งนี้ สำหรับเอกสารหรือการเสนอขึ้นทะเบียนเป็นความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World) นั้นต้องเป็นมรดกเอกสารที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร (Documentary Heritage) เกี่ยวกับมรดกวัฒนธรรมแห่งโลก แสดงให้เห็นวิวัฒนาการของความคิด การค้นพบ และผลงานของสังคมมนุษย์ ซึ่งเป็นมรดกตกทอดจากสังคมในอดีตให้กับสังคมปัจจุบันเพื่อที่จะสืบสานให้แก่สังคมในอนาคต

อนึ่ง ประเทศไทยได้ขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลกมาแล้ว 4 ชิ้น ได้แก่

1.ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ 1 ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2546 เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์สำคัญ ที่บันทึกและประกาศข้อมูลข่าวสารสาธารณะ และนโยบายของรัฐโบราณให้สาธารณชนรับทราบ และมีผลต่อประวัติของโลกนอกพรมแดนวัฒนธรรมของไทย ทำให้เข้าใจความสำคัญของการปกครอง การค้าขาย การติดต่อแลกเปลี่ยนกับชาติต่างๆ ในช่วงเวลาของยุคสุโขทัย มีความสมบูรณ์ในตัวเอง นับเป็นเอกสารสาธารณะที่หาได้ยากยิ่ง

2.เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของรัชกาลที่ 5 ขึ้นทะเบียนปี 2552 เป็นเอกสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสยาม รวมพระอัจริยภาพทุกด้านที่ทรงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงส่งเสริมให้สยามอยู่ได้ อย่างสงบประกอบด้วยเอกสารการเลิกทาสและเอกสารอื่นที่แสดงให้เห็นถึงนโยบาย และการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้กรุงสยาม ดำเนินนโยบายต่างประเทศ ที่ทำให้ประเทศสามารถอยู่ในความสงบได้อย่างดี โดยเป็นเอกสารต้นฉบับทั้งหมด 8 แสนหน้า ปัจจุบันจัดเก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติและหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

3.จารึกวัดโพธิ์ ประกาศขึ้นทะเบียนในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อปี 2551 และขึ้นทะเบียนในระดับโลกใน ปี 2554 “วัดโพธิ์” หรือ “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร” ซึ่งจารึกวัดโพธิ์เป็นองค์ความรู้จากปราชญ์ของไทยและสรรพศิลปวิทยาการต่างๆ เช่น ตำราการแพทย์ โบราณคดี และวรรณกรรม โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนทั้งหลาย ฯลฯ มาจารึกลงบนแผ่นหินอ่อน ประดับไว้ตามบริเวณผนัง-เสาพระระเบียงรอบพระอุโบสถ พระวิหาร พระวิหารคด และศาลารายรอบพระมณฑปภายในวัดและแม้ว่าเวลาผ่านไปกว่า 178 ปี วัดโพธิ์ยังคงเป็นแหล่งเรียนรู้สรรพวิทยา เห็นได้จากความรู้เกี่ยวกับโยคะศาสตร์และตำราการนวดแผนโบราณวัดโพธิ์ เป็นที่รู้จักแพร่หลายออกไปทั่วโลกในปัจจุบัน

4.บันทึกการประชุมของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ขึ้นทะเบียนไว้เมื่อปี พ.ศ.2556 เป็นเอกสารที่มีอายุกว่า 100 ปี ส่วนหนึ่งของบันทึกการประชุมของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่มีทั้งหมด 16 เล่ม บันทึกไว้ช่วงระหว่างปี 2447-2547ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเอกสารเหล่านี้ เป็นการรวบรวมบันทึกความคิด ความอ่าน หรือการระดมสมองของ สมาชิกสยามสมาคมที่มาจากหลายสาขาอาชีพ มีทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการระดับสูง ที่ปรึกษาชาวต่างชาติ สะท้อนภาพและมุมมองของสังคมในยุคสมัยนั้น ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษาวิจัย และอ้างอิง

ที่มาของข่าว https://mgronline.com/qol/detail/9600000123205

ท่านสามารถเข้าค้นหาภาพได้จากเว็บไซต์ https://oer.learn.in.th/ โดยใช้คำค้น สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

 

 

การจัดทำทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๑

ภาพการประชุมสัมมนา
เรื่อง การจัดทำทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๑
วันจันทร์ที่ ๒๑
– วันอังคารที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๘
ณ ห้องประชุม
PLEASURE BALLROOM ชั้น ๒
โรงแรม
บียอนด์ สวีท จังหวัดกรุงเทพมหานคร


DSC_5239 DSC_5313
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รองประธานคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)เปิดการประชุมสัมมนา เรื่องการจัดทำทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๑ และเปิดนิทรรศการ เรื่อง เอกสารขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลกของประเทศไทย ผู้แทนที่เข้ารับประกาศณียบัตร ถ่ายรูปร่วมกับปลัดกระทรวงฯ และคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก
DSC_5343 DSC_5367
การบรรยายพิเศษ เรื่อง “มรดกทางวัฒนธรรมอาเซียน” โดย นายวีระ โรจน์พจนรัตน์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
DSC_5405 DSC_5489
การบรรยายพิเศษ เรื่อง “มรดกทางวัฒนธรรมอาเซียน” โดย นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อภิปรายเรื่องการดำเนินงานเอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลก เกณฑ์การขึ้นทะเบียนและการกรอก แบบกรอกข้อความเพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเอกสาร มรดกความทรงจำแห่งชาติ และเอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลก โดย : ดร. ม.ร.ว. รุจยา อาภากร และ ดร. ประจักษ์ วัฒนานุสิทธิ์
DSC_5727 DSC_5980
นางสาวกรพินธุ์ ทวีตา ให้สัมภาษณ์ กับนักข่าว ศึกษาเอกสารมรดกความทรงจาแห่งโลก “จารึกวัดโพธิ์”
ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
DSC_6138 DSC_5208
ศึกษาเอกสารมรดกความทรงจาแห่งโลก “จารึกวัดโพธิ์”
ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
ผู้เข้าร่วมสัมมนา ฟังบรยาย
NIK_1174 (1) DSC_5855
การอภิปรายวิพากษ์การกรอกแบบกรอกข้อความเพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำแห่งชาติ เรื่อง บันทึกพระครูศรีวิราชวชิรปัญญาเจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา พ.ศ. ๒๔๐๔ – พ.ศ. ๒๔๕๐
ผู้เสนอ : นายวิมล ปิงเมืองเหล็ก
ผู้วิพากษ์ : นางสาวขนิษฐา วงศ์พานิช
ดร. ม.ร.ว.รุจยา อาภากร ตอบข้อซักถาม
NIK_1203 NIK_1124
ดร. ม.ร.ว. รุจยา อาภากร ให้สัมภาษณ์กับนักข่าว ภาพท่านวิทยากรผู้ทรงเกียรติ

กำหนดการประชุมสัมมนา
เรื่อง การจัดทำทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๑
วันจันทร์ที่ ๒๑
– วันอังคารที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๘
ณ ห้องประชุม
PLEASURE BALLROOM ชั้น ๒
โรงแรม
บียอนด์ สวีท จังหวัดกรุงเทพมหานครวันจันทร์ที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๘๐๘.๓๐ – ๐๙.๓๐ น. ลงทะเบียน๐๙.๓๐ – ๑๐.๓๐ น. พิธีเปิดการประชุม

  • ศาสตราจารย์พิเศษ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ประธานคณะกรรมการ
    แห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก กล่าวต้อนรับและชี้แจง
    ความเป็นมาของการจัดโครงการ จัดประชุมสัมมนา
  • รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวง
    ศึกษาธิการ รองประธานคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา
    วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
    เปิดการประชุมสัมมนา เรื่องการจัดทำทะเบียนเอกสารมรดก
    ความทรงจำแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๑ และเปิดนิทรรศการ เรื่อง
    เอกสารขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลกของประเทศไทย
  • รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวง
    ศึกษาธิการ รองประธานคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา
    วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
    มอบประกาศนียบัตรแก่หน่วยงานและบุคคลที่เสนอเอกสารและ
    ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งชาติ

๑๐.๓๐ – ๑๐.๔๕ น. พักรับประทานอาหารว่าง๑๐.๔๕ – ๑๑.๔๕ น. การบรรยายพิเศษ เรื่อง “มรดกทางวัฒนธรรมอาเซียน”โดย นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม๑๑.๔๕ – ๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. การอภิปรายเรื่องการดำเนินงานเอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลก เกณฑ์การ
ขึ้นทะเบียนและการกรอกแบบกรอกข้อความเพื่อเสนอขึ้นทะเบียนเอกสารมรดก
ความทรงจำแห่งชาติ และเอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลก
โดย : ดร. ม.ร.ว. รุจยา อาภากร และ ดร. ประจักษ์ วัฒนานุสิทธิ์๑๔.๓๐ – ๑๕.๐๐ น. พักรับประทานอาหารว่าง๑๕.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. การอภิปรายตัวอย่างการขึ้นทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำแห่งชาติ
และเอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลก
เรื่อง บันทึกพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา
พ.ศ. ๒๔๐๔ – พ.ศ. ๒๔๕๐

ผู้เสนอ : นายวิมล ปิงเมืองเหล็ก
ผู้วิพากษ์ : นางสาวขนิษฐา วงศ์พานิชแผนงานของยูเนสโกว่าด้วยความทรงจำแห่งโลกmowแผนงานของยูเนสโกว่าด้วยความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World Program) เป็นแผนงานที่องค์การยูเนสโก กำหนดให้มีขึ้น เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2535 โดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญ ด้านสารนิเทศจากองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชนจากทั่วโลก มาประชุมหารือร่วมกัน แผนงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ และการเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาของโลก ที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกไว้ในรูปแบบใดๆ และไม่ว่าจะผลิตในประเทศใด ถือว่าเป็นแหล่งรวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลาย ทั้งในด้านของวัฒนธรรม และความคิดริเริ่มของมนุษยชาติThe Memory of the World Programme or the UNESCO Plan on the World Memory was formulated by UNESCO on June 22, 1992, during which information experts from public and private sectors from around the world were invited to discuss the issue.  The plan has as its objective to conserve and publicize world heritage or wisdoms, recorded in any form of writing and in any country.  They are considered sources of thinking, knowledge and experiences that can reflect the diversity of cultures and initiatives of mankind.